top of page

ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ 

 

     1. ปาก (Month) เริ่มจากภายในปากมีฟัน (Teeth) ที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ซึ่งเป็นการย่อยเชิงกล ในขณะเดียวกันลิ้น (tongue) ที่รับรสอาหาร ก็จะช่วยคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ที่ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งให้มีขนาดเล็กลง

 

    2. หลอดอาหาร (Esophagus) โดยกล้ามเนื้อของผนังหลอดอาหารจะบีบตัวเป็นลูกคลื่นระยะ ๆ เรียกว่า เพอริสทัลซีส (peristalsis) เพื่อให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารและไม่ย้อนกลับสู่หลอดอาหารอีก

 

   3. กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นถุงที่จุประมาณ 2 – 4 ลิตร ผนังของกระเพาะอาหารเป็นกล้ามเนื้อหนาที่แข็งแรงและยืดหยุ่น กระเพาะอาหารจะผลิตกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) ช่วยทำให้อาหารอ่อนตัวและกรดนี้จะเปลี่ยนเอนไซม์ที่ไม่มีฤทธิ์ให้กลายเป็นเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ช่วยย่อยโปรตีน

 

   4. ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นท่อขดไปมาในช่องท้อง ผนังด้านในมีส่วนยื่นออกมา เรียกว่า วิลลัส (villus) ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร ภายในลำไส้เล็กมีต่อมสร้างน้ำย่อยที่ย่อยแป้ง น้ำตาล และโปรตีน หน้าที่สำคัญของลำไส้เล็กคือย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร

 

   5. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) ไม่มีหน้าที่ย่อยอาหาร แต่มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เหลือจากการดูดซึมของลำไส้เล็กเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นจะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรืออุจจาระ ออกนอกร่างกายทางทวารหนัก (Rectum)

ระบบขับถ่าย

   ปอด คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากการเผาผลาญพลังงานระดับเซลล์ โดยอาศัยหลักการแพร่เข้าสู่ในเส้นเลือดฝอย แล้วลำเลียงด้วยระบบหมุนเวียนโลหิตไปยังปอด เกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอด แล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก

   เหงื่อ เป็นของเสียที่ถูกขับออกทางผิวหนังของมนุษย์ผ่านทางรูขุมขน เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 99 สารประกอบอื่นๆ อีกร้อยละ 1 ได่แก่ โซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์พวกยูเรีย แอมโมเนีย กรดแล็กติก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

  ไต ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ ไตมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วดำ วางตัวอยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นใน ตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีท่อไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตนับล้านหน่วย เป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งตัน เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า โบว์แมนส์แคปซูล ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วย ภายในแอ่งจะมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุก เรียกว่า โกลเมอรูลัส ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต

   การย่อยอาหารจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น คือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่ และน้ำตาลกลูโคส ที่ตกค้างอยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็งจนนำไปสู่อาการท้องผูก

ระบบไหลเวียนเลือด

   ร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทางด้ายซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังเอเทรียม ส่วนห้องล่างมีขนาดใหญ่และหนากว่าเรียกว่า เวนทรีเคิล ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจคอยปิด-เปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

    1. เลือด เป็นของเหลวชนิดหนึ่งในร่างกาย ประกอบด้วย น้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดเเดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตร

  น้ำเลือด หรือ พลาสมา เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมด

   เม็ดเลือดเเดง ( มีอายุ 110-120 วัน) ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม เม็ดเลือดเเดง(มีอายุ 7-14 วัน) โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวโดนทำลายโดย เชื้อโรค 80% ไขกระดูก และ ม้าม ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5000-10000 เซลล์/เลือด 1ml

   เกล็ดเลือด ไม่ใช่เชลล์ แต่เป้นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด 1 ลูกบาสก์เซนติเมตร นอกจากนี้เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมี (ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล

    2. เส้นเลือด คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง
เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดในร่างกายแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบเส้นเลือดแดง และระบบเส้นเลือดดำ

เส้นเลือดแดงคือ เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังอวัยวะและส่วนต่างๆ ของ ร่างกายเลือดในเส้นเลือดแดงส่วนมากเป็นเลือดดี นอกจากเส้นเลือดแดงที่ไปยังปอดที่เป็นเลือดเสียเพื่อนำไป ฟอกให้บริสุทธิ์

เส้นเลือดดำ คือเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจส่วนมากเป็นเลือดเสียยกเว้นเส้นเลือดที่มา จากปอดซึ่งจะเป็นเลือดบริสุทธิ์ โครงสร้างของเส้นเลือด

   ความดันเลือด หมายถึง ความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดง
ที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็น
มิลลิเมตรปรอท เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ

  • ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
    เรียกว่า ความดันระยะหัวใจบีบตัว

  • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    เรียกว่า ความดันระยะหัวใจคลายตัว

กลุ่มสาระฯ
คณิตศาสตร์
ภาษาไทษ
สังคมศึกษา
ภาษาต่างประเทศ
ศิลปะ
สุขศึกษา
การงานอาชีพฯ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
bottom of page